Engineer for control
แก้ปัญหาเสียงดังด้วยวิธีการทางวิศวกรรม
ปัญหาด้านเสียงก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทั้งฝ่ายผู้รับเสียงและฝ่ายผู้ก่อให้เกิดเสียง เสียงที่ดังเกินไป นอกจากจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพคือประสาทหูเสื่อมแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้านอื่นๆ กล่าวคือก่อให้เกิดความเครียด นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย และความดันสูงตามมาอีกด้วย ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบพื้นที่แหล่งที่ก่อให้เกิดเสียงดัง ก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำการแก้ไขปรับปรุงหรือลดระดับเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญนั้นลดลง จนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้รับเสียงและไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนดไว้
การแก้ปัญหาด้านเสียงด้วยวิธีการทางวิศวกรรม คือกระบวนการแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงด้วยขั้นตอน การเก็บข้อมูลเสียงและสภาพแวดล้อม การคำนวณพลังงานและความเข้มเสียง การออกแบบวิธีการและวัสดุลดเสียง และการคำนวณผลที่จะเกิดขึ้นภายหลังการปรับปรุง เพราะการบัง กั้น ปิด โดยใช้ฉนวนซับเสียงที่มีขายทั่วไปอาจไม่ได้ผล หรือได้ผลที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ที่สำคัญคือบางปัญหาไม่สามารถทดลองผิดหรือถูกได้ การแก้ปัญหาด้านเสียงด้วยวิธีการทางวิศวรรมจึงมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้การจัดการมลภาวะทางเสียงเห็นผลทั้งในรูปธรรมและนามธรรม
ทำไมต้องเลือกแก้ปัญหาด้านเสียงด้วยวิธีการทางวิศวกรรม
- ช่วยลดปัญหาการลองผิดลองถูก
- ช่วยให้ประเมินผลลัพธ์ภายหลังการปรับปรุงได้แม่นยำขึ้น
- ช่วยให้ทราบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่แน่นอน ไม่บานปลาย
- ช่วยเป็นข้อมูลสำหรับตัดสินใจว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะลงทุนปรับปรุงเรื่องเสียง
ตัวอย่างบางส่วนของการแก้ปัญหาด้านเสียงด้วยวิธีการทางวิศวกรรม
เมื่อทำการเก็บข้อมูลเสียงที่พื้นที่การผลิตในโรงงานแห่งหนึ่งพบว่า เสียงดังรำคาญที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เป็นเสียงที่อยู่ในช่วงความถี่กลางถึงสูง คือช่วง 500-10000 Hz และมีระดับเสียงเฉลี่ย (LAeq) ที่ 99.4 dBA มีระดับเสียงดังสูงสุด (Lmax) 100.9 dBA เป็นลักษณะเสียงที่ดังอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เสียงกระแทก แนวทางการแก้ปัญหาก็คือ การออกแบบผนังกันเสียงหรือตู้ครอบลดเสียงที่มีคุณสมบัติซับเสียงในย่านความถี่ 500-10000 Hz ได้ดี มีค่า STC (Sound Transmission Class) ไม่น้อยกว่า 63 เป็นต้น